
Active Play คืออะไร?
“ออกมาเล่น” (Active Play) คือ กิจกรรมการเล่นใดๆ ที่เด็กเป็นผู้ร่วมเล่นด้วยตนเอง ทำให้เด็กได้รับความสนุกสนาน เป็นการเล่นที่ไม่มีการกำหนดรูปแบบกติกาที่เป็นทางการ (Unorganized/ Unstructured) และอยู่นอกเหนือชั่วโมงพลศึกษา ทั้งยังหมายถึงการละเล่นพื้นบ้านได้ด้วย อาจฟังดูเป็นนิยามใหม่ ทว่าที่จริงเป็นพฤติกรรมโดยธรรมชาติของเด็กอยู่แล้วที่ชอบเล่น การออกมาเล่น เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย (Physical Activities หรือ PA) อันหมายถึง การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อโครงสร้างและทำให้มีการใช้พลังงานของร่างกาย สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ
“แนะนำ 60 นาที” สูตรแอ๊คทีฟ 10-20-30
องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ในแต่ละวัน เด็กควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง-หนัก อย่างน้อยที่สุด 60 นาที หรือมากกว่านั้น อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ หรือสะสมปริมาณรวมของพลังงานที่ใช้อย่างน้อย 200 kcal/วัน (เทียบกับการเดิน 3.2 กม./วัน หรือเดิน 60 นาที) 60 นาทีนี้สามารถแบ่งช่วงเวลาเล่นเพื่อสะสมให้ครบ 60 นาที/วันได้ โดยใช้หลัก 10-20-30 เช่นมีกิจกรรมตอนเช้า 10 นาที, กิจกรรมระหว่างวันหรือพักเที่ยง 20 นาที, และกิจกรรมตอนเย็นอีก 30 นาทีก็ได้กิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมแต่ละวัยเด็ก
เด็กกับการเล่นนั้นเป็นของคู่กัน เด็กบางคนยิ่งได้ได้วิ่งเล่นกระฉับกระเฉงยิ่งสนุก แต่บางครั้งดูเหมือนจะเป็นผู้ใหญ่ซะเองที่อาจปวดหัวเวลาเห็นเด็กอยู่ไม่สุข “จนเผลอห้ามเด็กเล่น” แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่า เมื่อเด็กออกมาเล่นอย่างแอ๊คทีฟ ได้ขยับร่างกายจนได้เหงื่อ “สมองของเด็กจะตื่นตัวโดยจะทำหน้าที่สั่งการให้เด็กเคลื่อนไหวไปในลักษณะและทิศทางต่างๆ จึงเท่ากับสมองได้รับการพัฒนาให้ทำหน้าที่คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจและเรียนรู้ในการตอบสนอง” นอกจากนี้การเล่นยังเป็นการฝึกเด็กๆเคารพกติกาและเรียนรู้การอยู่ร่วมกับเด็กๆคนอื่น หรือเรียกว่าการฝึกทักษาทางสังคมนั่นเอง

แหล่งความรู้